รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA และการแปลข้อมูลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน 2566 วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์กำหนดให้ใช้การเขียนเอกสารอ้างอิงในรูปแบบ APA เท่านั้น หากเป็นเอกสารวิจัยในภาษาไทย ผู้แต่งควรที่จะแปร (Translate) ให้เป็นภาษาอังกฤษ
ดังนั้น การเขียนอ้างอิงบทความในเนื้อหา (In-text Citation) จะใช้นามสกุล ตามด้วยปี ค.ศ. เช่น Surinta & Gonwirat (2021) หรือ Surinta et al. (2021) หรือ Surinta (2021) เป็นต้น ทุกบทความที่มีการอ้างอิงในเนื้อหาจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิง ตัวอย่างการเขียนอ้างอิง แสดงดังต่อไปนี้
One author: (Klingman, 1992)
two authors: (Chen & Li, 2001)
three or more authors: (Chen et al., 2001)
หากบทความที่อ้างอิงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาบทความ ให้เขียนอ้างอิงดังตัวอย่างต่อไปนี้
One author: Klingman (1992)
two authors: Chen & Li (2001)
three or more authors: Chen et al. (2001)
ในส่วนของเอกสารอ้างอิงจะปรากฏอยู่ส่วนท้ายของบทความ และบทความทุกบทความที่อ้างอิงในเนื้อหาจะต้องปรากฏในส่วนของเอกสารอ้างอิง และเอกสารอ้างอิงใดไม่ถูกอ้างอิงในเนื้อหาจะต้องไม่ปรากฏในส่วนของเอกสารอ้างอิง ทั้งนี้ชื่อของการประชุมวิชาการ และวารสารวิชาการจะต้องไม่ใช้ชื่อย่อ ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง เขียนได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การอ้างอิงบทความจากวารสาร (Reference to a journal article):Chen, J. and Li, Y. (2006). Coal fly ash as an amendment to container substrate for Spathiphyllum production. Bioresource Technology. 97(1), 1920-1926.
การอ้างอิงบทความจากการประชุมวิชาการ (Reference to article in a conference proceeding):Klingman, L.A. (1992). Induction of floral bud in Lansium domesticum by different rates and times of application of chloroethyl phosphonic acid. Proceedings of the 5th Tropical Fruit Crop Symposium, Chiang Mai, Thailand, August 10-12, 1992, 231-236.
การอ้างอิงจากหนังสือ (Reference to a book):Perry, R.H. and Chilton, C.H. (1973). Chemical Engineers Handbook, McGraw-Hill, New York, U.S.A.
การอ้างอิงจาก Edited book...